สัปดาห์ที่ 16


อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มจับกลุ่ม ออกแบบใบสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนโดยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเนื้อหาที่เด็กๆเรียน

กลุ่มของฉัน ประชาสัมพันธ์เรียนรู้ในหน่วยกบFROG




    - ใช้เทคนิคการสอนแบบให้นักศึกษาทำงานรับผิดชอบร่วมกัน working group 
    - ในการสอนอาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
    - อาจารย์พยายามใช้คำถามซ้ำๆและใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถาม
    - ใช้ English language สอดแทรกในการสอน
    - ในการสอนมีการยกตัวอย่างจากเรื่องใกล้ตัวมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น






- จากการที่ได้ออกแบบใบแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน ทำให้ได้รู้เทคนิคในการเขียนให้ถุกต้องเหมาะสมและน่าสนใจ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างการทำแผ่นพับของตนเองเมื่อจบไปประกอบวิชาชีพครูก็สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นสือในการส่งข่าวประชาสัมพันธ์กันระหว่างบ้านและโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้เรื่องราวที่เด็กได้เรียนในแต่ละครั้ง
-ในการเรียนทุกครั้งต้องมีการเตรียมความพร้อมและศึกษาเนื้อหาให้พร้อมอยู่เสมอ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเป็นครูคือ ความมีวินัย 




   

             วันนี้ตั้งใจเรียนมากเป็นพิเศษเนื่องจากวันนี้เป็นวันสุดท้ายของคาบเรียนนี้แล้วทำให้ต้องพยายามเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด ในการทำงานกลุ่มในวันนี้มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มตามความเหมาะสมกับความสามารถของตนเองถึงแม้จะมีคุยกันระหว่างทำงานบ้างหรือมีนั่งเหม่อๆบ้างแต่สุดท้ายผลงานก็ออกมาน่าภูมิใจ


          เพื่อนๆเกือบทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนและทำงานกลุ่มในวันนี้เป็นอย่างดี การทำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่มทุกกลุ่มมีความตั้งใจช่วยกันคิดวิธีการเขียนใบแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน ในตอนแรกที่อาจารย์ชี้แจงงาน ท้ายๆคาบเพื่อนก็เริ่มพูดคุยกันเสียงดังบ้างส่วนมากจะคุยกันเรื่องงานแต่ก็มีเพื่อนบางคนที่ไม่มีหน้าที่ทำอะไรในกลุ่มทำให้เริ่มหันหน้าคุยกันกับเพื่อน 









    
          วันนี้เป็นวันปิcourse ของการเรียนวิชานี้แล้ว ตลอดระยะเวลาที่เรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับอาจารย์จินตนา ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากมายไม่เพียงแต่เนื้อหาในเรื่องที่เรียนอย่างเดียวแต่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในทุกๆเรื่องซึ่งเป็นประโยชน์สามารถปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สัปดาห์ที่ 15



1. วันนี้อาจารย์ถามเกี่ยวปัญหาเกี่ยวกับการทำแผนการสอนว่ามีปัญหาอะไรบ้างโดยอาจารย์แนะนำการเขียนแผนดังนี้
          - เขียนยังไม่เรียงตามลำดับ  ควรเขียนใส่กระดาษธรรมดาก่อน แล้วค่อยเรียงลำดับให้ถูกต้อง จึงค่อยนำมาใส่ในแผนจริง
          - Mind Map  ควรแตกหัวข้อสำคัญก่อน  แล้วเราค่อยเสริมเนื้อหาที่ต้องการได้
          - การเรียงลำดับเรื่องสอน เราเรียงและสอนแบบไหนไม่ผิดหรอก แต่เด็กจะไม่ได้การจัดระบบที่ถูกต้อง ดังนั้นควรเรียงจาก นามธรรมไปเป็นรูปธรรม

2. อาจารย์ให้นำเสนอสื่อที่นำเสนอไปแล้ว มาจัดประเภทว่าสื่อของตนว่าอยู่ในหมวดใด เช่น แสง  อากาศ  น้ำ  เสียง จุดสมดุล  โดยสื่อของดิฉันมีชื่อว่า  รถพลังลม


                       หลักการทางวิทยาศาสตร์

         "แรงดันอากาศ"    คือ  แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทาง  พุ่งมาชนกับผนังภาชนะ  ซึ่งรถพลังลมต้องอาศัยการใช้อากาศโดยที่เราเป่าปากแก้ว เพื่อให้รถพลังลมเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้
ทักษะที่ได้รับ
-  การคิดอย่างมีเหตุ มีผล
-  การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เหลื่อใช้
การนำไปประยุกต์ใช้
-  ใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์ ควบคู่กับ การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์  ในการประดิษฐ์ ตกแต่ง และบอกเหตุผลของความเปลี่ยนแปลง
-  ใช้ในการพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ให้ทันสมัยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

3. อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ทำหวานเย็น โดยมีอุปกรณ์ ต่อไปนี้


วิธีทำ




        การแข็งตัว (Fleezing) คือการที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน ของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก      


       กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็ง   นั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน





1. อาจารย์ให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล ในเรื่องของวิจัยวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย 
    และสืบค้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ จากโทรทัศน์ครู ด้วยตนเอง
2. นักศึกษาได้ฝึกการพูดนำเสนองาน หน้าชั้นเรียน ได้รับทักษะการใช้น้ำเสียง, การพูด 
    และบุคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ได้ถ่ายทอดความรู้ ให้เพื่อนๆ และอาจารย์เข้าใจได้
3. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ 
4. การให้คำแนะนำ ดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดในการจัด
    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยได้
5. ทักษะการสรุปงาน สรุปจับใจความสำคัญ เพื่อให้ตนเองเข้าใจเนื้อหาที่เพื่อนมานำเสนอได้

6. ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ขณะที่นักศึกษาออกมานำเสนอ







1. สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ 
2. สามารถนำทักษะการพูดหน้าชั้นเรียนไปใช้ในการนำเสนอในรายวิชาอื่นได้ และมีหลักการพูด 
    การใช้น้ำเสียง และบุคคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ไปใช้ในอนาคตได้
3. สามารถนำทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ในขณะที่มีคนพูด และสามารถจดบันทึกการสรุปความ
    จากสิ่งที่ได้รับฟัง เพื่อให้ตนเองเข้าใจได้
4. สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้ 
5. สามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ และดัดแปลงสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

    ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซาก 





เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
ตั้งใจฟัง และจดบันทึกขณะที่เพื่อนออกมานำเสนอ 
เข้าใจในกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ และจะนำไปใช้จัดการเรียนการสอน
ให้แก่เด็กปฐมวัยให้ดีที่สุด ^^ 



 เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อนที่ออกมานำเสนองาน มีการสรุป และจับใจความได้เป็นอย่างดี 
เป็นผู้ฟังที่ดีในขณะที่เพื่อนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน บางคนก็คุยกันบ้าง 
แต่โดยภาพรวมแล้ว ตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึกสรุปในสิ่งที่ได้รับฟัง
มีการแสดงความคิดเห็น และโต้ตอบ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม 
ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกิดความสนุกสนาน 


เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 
อาจารย์ให้คำแนะนำ สรุปความ ให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายมากขึ้น 
อาจารย์จับใจความสำคัญ ในเรื่องที่นักศึกษามานำเสนอได้เป็นอย่างดี
อาจารย์อารมณ์ดี สอนอย่างสนุกสนาน ทำให้นักศึกษาไม่เครียด
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม และตอบ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน 
ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจบทเรียน ในวันนี้ได้เป็นอย่างดี ^^ 
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สัปดาห์ที่ 14



วันนี้อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำขนม Waffleโดยให้นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการทำทุกคน  พร้อมอธิบายขั้นตอนต่างๆ   โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการทำดังนี้ค่ะ



ขั้นตอนการทำ


เสร็จแล้วจ้าาา^^

กิจกรรมเพิ่มเติม การแก้ไขแผนการสอน

1.หน่วยดิน
เพลง ชนิดของดิน
ดิน ดิน ดิน
ดินมีหลายชนิด
ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย ( ซ้ำ )
เด็กๆลองทายมีดินอะไร



การนำไปใช้
กิจกรรมการทำอาหาร หรือ cooking สามารถนำไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางด้านภาษาในการสื่อสาร คณิตศาสตร์ในการทำอาหารในการวัด คำนวน รวมทั้งได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เช่น การเปลี่ยนเเปลงของสิ่งต่างๆ เมื่อถูกความร้อน ความเย็น เป็นต้น ในการทำอาหารถ้าเด็กได้ลงมือทำ เด็กก็จะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ คือ หู-ฟัง ตา-ดู ปาก-ชิมลิ้มรส จมูก-ได้รับกลิ่น
มือ-จับต้องสัมผัส รวมไปถึงการต่อยอดทักษะทั้ง 4 ด้าน อย่างเหมาะสม 

ประเมินตนเอง
จากกิจกรรมวันนี้สอนให้ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติเเละฝึกคิดสิ่งที่จะได้รับเเละการนำไปสอนเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องเเละเกิดกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด เเละการวางเเผนก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรมทุกครั้ง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนมีความคิดเห็นว่าควรจะมีการจัดกิจกรรมการทำอาหารบ่อยๆเพราะหลายคนได้มีส่วนร่วมกันเเละมีความสนุกสนานระหว่างการทำกิจกรรมเกิดการเรียนรู้หลายอย่างเเละไม่น่าเบื่อ เป็นประสบการณ์ที่ดีอีกด้วย 

ประเมินอาจารย์ผู้สอน 
อาจารย์ชี้เเจงเเละอธิบายสิ่งที่ควรนำไปใช้กับเด็กในการจัดกิจกรรมนี้ เเละข้อควรระวัง เเละสิ่งที่นักศึกษาจะต้องปรับปรุงเเก้ไขในการจัดกิจกรรมเเบบนี้ 
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สัปดาห์ที่ 13


1. อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปนำเสนอแผน โดยมีกลุ่มที่ออกไปนำเสนอการสอนใหหน่อยต่างๆดังต่อไปนี้  หน่วยสับปะรด  หน่วยส้ม   หน่วยทุเรียน    หน่วยมดแดง   โดยเเต่ละกลุ่มก็มีการเรียนการสอนที่หลากหลายกันไป ทั้งขั้นนำ  ขั้นสอน  ขั้นสรุป และบางครั้งก็ได้กลับไปแก้ไข


หน่วยสับปะรด


ขั้นนำ 

เป็นการพูดถึงลักษณะทั่วไปของสับปะรด  รูปทรง  สี  พื้นผิว  ประโยชน์และข้อควรระวังของสับปะรด

ขั้นสอน

สอนการทำน้ำสับปะรด  การหั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กๆ  การทำน้ำเชื่อม และครูบอกวิธีการทำน้ำสับปะรดเป็นขั้นตอน และบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำสับปะรดว่ามีอะไรบ้าง

ขั้นสรุป 

ครูซักถามเด็กว่าในการทำน้ำสับปะรดมีวิธีการทำอย่างไร  อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำมีอะไรบ้าง  และประโยชน์ของสับปะรด  ข้อควรระวังของสับปะรดมีอะไรบ้าง 




หน่วยส้ม

ขั้นนำ

    เป็นการสอนเกี่ยวกับเพลงส้ม  บอกถึงส้มมีหลายชนิด  ทั้งส้มเขียวหวาน  ส้มแบนดาริน  ส้มเช้ง
ส้มโชกุน  ส้มสายน้ำผึ้ง  และลักษณะของส้มเป็นแบบใด

ขั้นสอน

   สอนการเรียงเลขโดยใช้ส้มเป็นการเรียงต่อๆกัน  แล้วหยิบเลขมาต่อ เลข 1-9
มาติดให้ถูกต้องตามลำดับ

ขั้นสรุป

  ครูผู้สอนมีการซักถามว่าส้มมีชนิดอะไรบ้าง ลักษณะของส้มมีอะไรบ้าง  แล้วให้เด็กนับเลข  1-9




หน่วยทุเรียน

ขั้นนำ

     ครูใช้คำถามว่า  มีผลไม้อะไรเอ่ยมีหนามแหลมๆ   แหวกออกมามีสีเหลืองๆ  ขาวๆ
กลิ่นหอมๆ  บางคนก็เหม็น  เด็กก็ตอบว่าทุเรียน  ครูก็พูดถึงลักษณะทั่วไปของทุเรียน

ขั้นสอน

  ครูบอกลักษณะของทุเรียนว่ามีลักษณะอย่างไร  ครูบอกชนิดของทุเรียนว่ามีลักษณะแบบใด  โดยทุเรียนมีหลายชนิด  เช่น  ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  ทุเรียนพันธ์ุก้านยาว  ทุเรียนพันธ์ุกะดุม  เป็นต้น
และครูก็บอกวิธีการเลือกว่าทุเรียนพันธ์กะดุมจะมีลักษณะลูกเล็กกว่าพันธ์ุอื่นๆ และเปลือกจะบาง

ขั้นสรุป

ครูซักถามว่าเด็กเคยกินทุเรียนอะไรบ้าง  เด็กๆอยากกินทุเรียนไหม  เด็กบอกลักษณะของทุเรียนให้คุณครูฟังหน่อยได้ไหมจากที่คุณครูบอกไปเมื่อกี้ เด็กคนไหนจำได้บ้างเอ่ย เด็กก็ตอบคำถามที่คุณครูถาม







หน่วยมดแดง

ขั้นนำ  

คุณครูร้องเพลงมด
มดมดมด  หนูเคยเห็นมดหรือป่าว   มดมันตัวเล็ก
 และเบามีขายาวๆเดินหากัน   มีบ้านใต้ดินเรียกว่ารัง  หนูๆจงฟังไว้เอย

ขั้นสอน

คุณครูบอกลักษณะ สีของมด  ขนาดของมด  กลิ่นของมด
ส่วนประกอบในร่างกายของมด  เเขน ขา หัว  ตา และชนิดของมด


ขั้นสรุป

เด็กๆสามารถบอกข้อเเตกต่างและเหมือนของมดดำและมดแดงได้เหมือนกัน
คือ  ตา  หัว  ปาก  หนวดมี 2 หนวด   ท้อง
ข้อแตกต่าง  คือ  สี  กลิ่น
 มดแดงกลิ่นเปรี้ยว  มดดำกลิ่นฉุน
มดแดงมีขนาดใหญ่  มดดำมีขนาดเล็ก



2. กิจกรรมการทำไข่หลุม







เป็นการทำกิจกรรมที่เเบ่งนักศึกษาออกเป็น  5  กลุ่มหรือ 5 ฐาน โดยให้แต่ละฐานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้



1.ฝ่ายตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลมแจกเพื่อน



2.ฝ่ายหั่นผัก ปูอัด  แครอท


3.ฝ่ายข้าว


4.ฝ่ายตอกไข่  เจียวไข่ให้เข้ากัน


5.ฝ่ายดูแลการนำไข่ไปใส่ในหลุม



อุปกรณ์การทำไข่หลุม

1.ไข่ไก่
2.น้ำปลา แม็กกี้  ซอส
3.ผักหัวหอม
4.แครอท
5.ปูอัด
6.กระดาษ
7.มีด
8.กรรไกร
9.ข้าว
10.ถ้วย
11.ช้อน
12.ซ่อม

วิธีการทำไข่หลุม

1.ให้ทุกคนตอกไข่คนละ 1 ลูก คนให้ไข่แตกคล้ายไข่เจียว
2.ใส่ผัก  นำ้ปลา ปูอัด แครอท  ข้าว
3.คนให้เข้ากัน ไม่เหลวจนเป็นน้ำเกินไป
4.นำไข่ที่ใส่ส่วนผสมเรียบร้อยแล้วไปใส่ในหลุมที่ตั้งไฟไว้
5.รอเวลาพลิกไข่ รอไข่สุก
6.เมื่อไข่สุกแล้วนำใส่กระดาษวงกลมที่เตรียมไว้ แล้วนำไปใส่ถ้วยของกลุ่มตนเอง
7.รอไข่เย็น รับประทานไข่ที่ตนเองทำ

       โดยทุกฐานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  โดยมีการรับหน้าที่วนกันไป สลับกันไป  ใครนำใครไปใส่ในหลุมแล้วก็กลับไปนั่งที่ แลัวให้เพื่อนมาทำต่อ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สรุปวิจัย (Research)


ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน (Critical Thinking Ability of Early ChildhoodChildren Enhancing Outdoor Science Process Activities)

ชื่อวิจัย : สุมาลี หมวดไธสง
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
ความสำคัญของวิจัย : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนแบบการจัดกิจกรรมให้ดูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป
ความมุ่งหมายของวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีความสามรรถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ จำนวน 180 คน ซุ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ
กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ตัวแปรตาม
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหา ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง T-Test แบบ Dependent Samples
วิธีดำเนินการทดลอง
1. สร้างความคุ้ยเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. นำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทอสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที
4. เมื่อดำเนินการทอลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบ(Posttest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทอสอบการคิดวิเคราะห์ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดสอบอีกครั้ง
5. นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและสรุปผลการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
2.1 การจัดหมวดหมู่
2.2 การหาความสัมพันธ์
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาระดับความสามรถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สรุปโทรทัศน์ครู


เรื่อง   เสียง และการได้ยิน    ดูวิดีโอคลิก

ครูปิยะพร ศรีพลาวงษ์ รร.วัดบ้านแหลม




            เสียงเป็นส่วนหนึ่งที่คนใช้ในชีวิตประจำวัน มนุษย์รู้จัก และคุ้นเคยกับเสียงอันมีเสียงจากธรรมชาติ เช่น เสียงลม เสียงฟ้าผ่า เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ เสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ เช่นเสียงจากยานพาหนะ เครื่องจักรกล เสียงดนตรี ฯลฯ มนุษย์รู้จักนำพลังงานเสียงมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างหลากหลายวิธี พลังงานเสียงจึงมีประโยชน์มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการประยุกต์ใช้และสร้างองค์ความรู้ให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดในนักเรียน

            การสอนของครูปิยะพร เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ฝึกให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมาก มีการสอนสอนให้นักเรียนได้ฝึกการคิดการตั้งปัญหา การใช้เหตุผล นักเรียนฝึกตอบคำถามโดยใช้เหตุและผล มีการนำสิ่งใกล้ตัวเช่น การแสดงอารมณ์ของคนรอบข้างมาใช้ในการเรียนการสอน มีการสอนที่หลากหลาย ในการทดลองครูต้องติดตามในการทดลอง เพราะนักเรียนยังมีประสบการณ์น้อยโดยครูต้องตรวจดูว่านักเรียนทำการทดลองถูกต้องไหม ฝึกให้นักเรียนแก้ปัญหาในการทดลอง รู้จักรู้จักคิดและแสวงหาความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันเช่นประดิษฐ์เครื่องดนตรีอย่างง่ายเป็นประโยชน์ดีมากค่ะ
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สัปดาห์ที่ 12



อาจารย์ได้พูดอธิบายเกี่ยวกับแผนต่อจากครั้งที่แล้วแล้วนำตัวอย่างแผนมาให้ดู แล้วให้จัดเรียงแผนตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1.กรอบมาตรฐาน
2.สาระที่ควรเรียนรู้
3.แนวคิด
4.เนื้อหา
5.ประสบการณ์สำคัญ
6.บูรณาการ
7.กิจกรรมหลัก
8.วัตถุประสงค์

จากนั้นเพื่อนก็นำเสนอแผน
กลุ่มที่ 1 หน่วยไข่



กลุ่มที่ 2 หน่วยกล้วย



กลุ่มที่ 3 หน่วยข้าว




กลุ่มที่ 4 หน่วยกบ 


เทคนิกการสอน

1. ให้นักศึกษานำเสนอกิจกรรมให้เสร็จก่อน และอาจารย์จึงให้คำแนะนำเพิ่มเติม
2. ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นความคิด การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกใช้

1. สามารถสอนได้ตรงตามแผนการสอนอย่างถูกต้อง
2. สามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้ในแต่ละหน่วย
3.สามารถจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้อย่างหลากหลาย และสามารถบูรณาการในเรื่องต่างๆได้
4. ในการสอนทำอาหาร ครูต้องระมัดระวังความปลอดภัย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับครู และเด็ก
    เช่น เตาที่ร้อน อย่าวางในระดับที่เด็กแตะต้องได้ง่าย ควรดูเด็กๆ อย่างใกล้ชิด
5. สามารถนำการเขียนแผนไปใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ ได้ เพื่อที่จะนำไปใช้เมื่อไปสอนเด็กๆ

การประเมินการเรียนการสอน

>>  ประเมินตนเอง : เข้าเรียนสาน 15 นาที แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมที่เพื่อนๆ
                                 แต่ละกลุ่ม มานำเสนอ สนุกมาก เพราะเหมือนเป็นการจัดกิจกรรมให้กับเด็กจริงๆ
                                 มีสื่อต่างๆ มีอุปกรณ์ในการทำอาหาร ได้ทานซูจากข้าเหนียว
>> ประเมินเพื่อน   :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ เพือนๆตั้งใจ และให้ความร่วมมือในการ
                                 จัดกิจกรรมให้สำเร็จไปได้ด้วยดี อาจมีการสอนที่ยังไม่ถูกต้องบ้าง
                                 เพราะเป็นการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ในครั้งแรก  แต่ทุกคนก็ตั้งใจ
                                 และทำออกมาได้ดี เพื่อนที่เป็นนักเรียนก็ได้ร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกัน
                                 เป็นอย่างดี มีการตอบคำถาม และลงมือทำอาหารร่วมกัน
                                 จึงทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน
                                 เพื่อนๆ มีการจดบันทึกแต่ละกิจกรรมเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น
>> ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิกในการสอนที่สนุกสนาน
                                 เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้จัดกิจกรรมด้วยตนเอง
                                 อาจารย์ให้คำแนะนำในการสอน ซึ่งจะทำให้การสอน เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม
                                 มีความหลากหลาย และสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด
                                 เพื่อให้นักศึกษา กล้าคิด กล้าตอบ มีส่วนร่วม และมีความสุขในการเรียน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สัปดาห์ที่ 11


สาระที่ควรรู้  >> ธรรมชาติรอบตัว
                       >> บุคคล และสถานที่
                       >> เกี่ยวกับตัวเอง
                       >> สิ่งต่างๆ รอบตัว


ประสบการณ์สำคัญ :  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพราะเด็กได้ลงมือกระทำ
                                        และได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม


กระบวนการทดลอง >>  กำหนดปัญหา
                                    >>  ตั้งสมมติฐาน
                                    >>  ทดลอง


ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >> การสังเกต
                                         >> การจำแนกประเภท
                                         >> การวัด
                                         >> การหาความสัมพันธ์
                                         >> การลงความเห็นจากข้อมูล
                                         >> การจัดการกระทำ และการสื่อความหมายของข้อมูล
                                         >> การพยากรณ์
                                         >> การคำนวณ

  การทดลอง


การทดลองที่ 1 ปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลมๆ เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำไว้ 
                           สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมันจะจมลงไปในน้ำ




การทดลองที่ 2 ปั้นดินน้ำมันรูปเรือ หรือรูปถ้วยที่มีความบางไม่หนาเกินไป 
                           เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมันจะลอยน้ำ
                           เพราะมีความบาง ไม่หนักแบบรูปทรงกลม 




การทดลองที่ 3  ตัดกระดาษรูปดอกไม้  จากนั้นพับกลีบ
                            เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำ กลีบดอกไม้จะค่อยๆ บาน 
                            ซึ่งเกิดจากการดูดซึมน้ำ ถ้าใช้กระดาษร้อยปอร์น น้ำจะซึมช้า 
                            แต่ถ้าใช้กระดาษ A4 น้ำจะซึ้มเร็ว จึงทำให้ดอกไม้ที่ทำจาก
                            กระดาษ A4 บานเร็วกว่า กระดาษร้อยปอร์น









การทดลองที่ 4  เจาะรูที่ขวดน้ำ 3 รู ตามแนวตั้งของขวด ปิดเทปไว้ที่รู 
                             แล้วใส่น้ำลงไปในขวด เกือบเต็มขวด
         1. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 1 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาค่อยๆ
         2. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 2 สิ่งท่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 
         3. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่า รูที่ 1 และ 2
 >> สรุป คือ รูลำดับล่างสุด น้ำไหลแรงที่สุด เพราะมีแรงดันอากาศมาก


การทดลองที่ 6  เจาะรู 1 รู ที่ขวดน้ำ ต่อสายยาง แล้วปลายสายยางมีถ้วยรองรับรับ
                            ถ้าขวดน้ำอยู่สูงกว่าถ้วยที่รองรับน้ำ 
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำจะไหลจากขวดน้ำ ลงสู่ถ้วยรองรับ
                            ถ้าบวดน้ำอยู่ต่ำกว่าถ้วยที่รองรับน้ำ
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำจะไม่ไหล
>> สรุป คือ น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ 



การทดลองที่ 7  จุดเทียน จากนั้นนำแก้วมาคอบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไฟที่เทียนดับ
                            เพราะควันของเทียนไม่มีอากาศถ่ายเท 




การทดลองที่ 8 ใส่น้ำลงไปในแก้ว แล้วนำดินสอใส่ลงไปในแก้ว
                           สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะมองดินสอที่อยู่ในน้ำมีขนาดใหญ่กว่า 
                           ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ 


>> สรุป คือ เกิดจากการหักเหของแสง ทำให้เห็นวัตถุที่อยู่ใต้น้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น 
                    สามารถใช้คุณสมบัติของน้ำ มาสอนเด็กได้ เช่น แว่นขยาย

 **การหักเหของแสง**


เทคนิกการสอน
1. ให้นักศึกษาได้ตั้งสมมติฐาน และทดลองด้วยตนเอง 
2. มีอุปกรณ์ที่สามารถทดลองได้หลากหลายการทดลอง 
3. เป็นการทดลองง่ายๆ ไม่ซับซ้อน สามารถนำไปสอนแก่เด็กปฐมวัยได้ 
4. ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความคิด 
5. ทักษะการคิดววิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์



การนำไปประยุกต์ใช้ 


1. สามารถนำวิธีการ และขั้นตอนการทดลองไปสอนแก่เด็กปฐมวัยๆ ได้ 
2. สามารถจัดประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้ 
    ซึ่งเป็นเรื่องรอบตัวของเด็กๆ 
3. ในการสอนครูต้องระวังความปลอดภัย เช่น การทดลองที่ต้องใช้น้ำ 
    ต้องระวังน้ำหก และระวังเด็กลื่นล้ม หากน้ำหกออกมา 
4. สามารถสอนการทดลองต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย 
    และสามารถบูรณาการในเรื่องต่างๆ ได้ เช่นการทดลอง เมื่อคอบแก้วแล้วเทียนดับ
    สามารถบูรณาการได้โดย สอนให้เด็กเข้าใจถึงการดใช้พลังงาน และเด็กสามารถ
    บอกกับพ่อ แม่ ถึงเรื่อง การดับเครื่องยนต์ ทำให้ลดการใช้พลังงาน เป็นต้น


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS