สรุปวิจัย (Research)


ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน (Critical Thinking Ability of Early ChildhoodChildren Enhancing Outdoor Science Process Activities)

ชื่อวิจัย : สุมาลี หมวดไธสง
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
ความสำคัญของวิจัย : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนแบบการจัดกิจกรรมให้ดูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป
ความมุ่งหมายของวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีความสามรรถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ จำนวน 180 คน ซุ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ
กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ตัวแปรตาม
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหา ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง T-Test แบบ Dependent Samples
วิธีดำเนินการทดลอง
1. สร้างความคุ้ยเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. นำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทอสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที
4. เมื่อดำเนินการทอลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบ(Posttest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทอสอบการคิดวิเคราะห์ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดสอบอีกครั้ง
5. นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและสรุปผลการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
2.1 การจัดหมวดหมู่
2.2 การหาความสัมพันธ์
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาระดับความสามรถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "สรุปวิจัย (Research)"