สัปดาห์ที่ 15
- เขียนยังไม่เรียงตามลำดับ ควรเขียนใส่กระดาษธรรมดาก่อน แล้วค่อยเรียงลำดับให้ถูกต้อง จึงค่อยนำมาใส่ในแผนจริง
- Mind Map ควรแตกหัวข้อสำคัญก่อน แล้วเราค่อยเสริมเนื้อหาที่ต้องการได้
- การเรียงลำดับเรื่องสอน เราเรียงและสอนแบบไหนไม่ผิดหรอก แต่เด็กจะไม่ได้การจัดระบบที่ถูกต้อง ดังนั้นควรเรียงจาก นามธรรมไปเป็นรูปธรรม
2. อาจารย์ให้นำเสนอสื่อที่นำเสนอไปแล้ว มาจัดประเภทว่าสื่อของตนว่าอยู่ในหมวดใด เช่น แสง อากาศ น้ำ เสียง จุดสมดุล โดยสื่อของดิฉันมีชื่อว่า รถพลังลม
หลักการทางวิทยาศาสตร์
"แรงดันอากาศ"
คือ
แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทาง
พุ่งมาชนกับผนังภาชนะ ซึ่งรถพลังลมต้องอาศัยการใช้อากาศโดยที่เราเป่าปากแก้ว
เพื่อให้รถพลังลมเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้
ทักษะที่ได้รับ
-
การคิดอย่างมีเหตุ มีผล
-
การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เหลื่อใช้
การนำไปประยุกต์ใช้
-
ใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์ ควบคู่กับ การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ ตกแต่ง และบอกเหตุผลของความเปลี่ยนแปลง
-
ใช้ในการพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ให้ทันสมัยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
3. อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ทำหวานเย็น โดยมีอุปกรณ์ ต่อไปนี้
วิธีทำ
การแข็งตัว (Fleezing) คือการที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน ของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก
กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็ง นั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน
กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็ง นั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน
1. อาจารย์ให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล ในเรื่องของวิจัยวิทยาศาสตร์
ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
และสืบค้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ จากโทรทัศน์ครู
ด้วยตนเอง
2. นักศึกษาได้ฝึกการพูดนำเสนองาน หน้าชั้นเรียน ได้รับทักษะการใช้น้ำเสียง,
การพูด
และบุคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ได้ถ่ายทอดความรู้ ให้เพื่อนๆ
และอาจารย์เข้าใจได้
3. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์
และการคิดวิเคราะห์
4. การให้คำแนะนำ ดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยได้
5. ทักษะการสรุปงาน สรุปจับใจความสำคัญ
เพื่อให้ตนเองเข้าใจเนื้อหาที่เพื่อนมานำเสนอได้
6. ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ขณะที่นักศึกษาออกมานำเสนอ
1. สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ
ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
2. สามารถนำทักษะการพูดหน้าชั้นเรียนไปใช้ในการนำเสนอในรายวิชาอื่นได้
และมีหลักการพูด
การใช้น้ำเสียง และบุคคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ไปใช้ในอนาคตได้
3. สามารถนำทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ในขณะที่มีคนพูด
และสามารถจดบันทึกการสรุปความ
จากสิ่งที่ได้รับฟัง เพื่อให้ตนเองเข้าใจได้
4. สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์
มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้
5. สามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
และดัดแปลงสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซาก
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
ตั้งใจฟัง
และจดบันทึกขณะที่เพื่อนออกมานำเสนอ
เข้าใจในกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ
และจะนำไปใช้จัดการเรียนการสอน
ให้แก่เด็กปฐมวัยให้ดีที่สุด ^^
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อนที่ออกมานำเสนองาน มีการสรุป
และจับใจความได้เป็นอย่างดี
เป็นผู้ฟังที่ดีในขณะที่เพื่อนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน บางคนก็คุยกันบ้าง
แต่โดยภาพรวมแล้ว ตั้งใจฟัง
และมีการจดบันทึกสรุปในสิ่งที่ได้รับฟัง
มีการแสดงความคิดเห็น และโต้ตอบ
เมื่ออาจารย์ถามคำถาม
ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกิดความสนุกสนาน
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
อาจารย์ให้คำแนะนำ สรุปความ
ให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายมากขึ้น
อาจารย์จับใจความสำคัญ
ในเรื่องที่นักศึกษามานำเสนอได้เป็นอย่างดี
อาจารย์อารมณ์ดี สอนอย่างสนุกสนาน
ทำให้นักศึกษาไม่เครียด
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม และตอบ
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจบทเรียน
ในวันนี้ได้เป็นอย่างดี ^^
0 Response to "สัปดาห์ที่ 15"
แสดงความคิดเห็น