สัปดาห์ที่ 5
แบบที่ 1 วัตถุโปร่งแสง( translucent ) แสงจะทะลุผ่านไปได้แค่บางส่วน เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังวัตถุโปร่งแสงได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ่า พลาสติกสีขุ่นๆ
แบบที่ 2 วัตถุโปร่งใส( transparent ) แสงทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส พลาสติกใส
แบบที่ 3 วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงที่เหลือไว้ และจะสะท้องแสงที่เหลือเข้าสู่ตาเรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก หรือตัวเรา
ดวงตาของเรามีรูเล็กๆเหมือนกัน เราเรียกว่ารูรับแสง ภาพที่ผ่านรูรับแสงในตาเราก็เป็นภาพกลับหัวเหมือนกัน หลักการนี้ที่มีการทำกล้องถ่ายรูป (camera) และการที่เรามองเห็นได้ปกติไม่มองกลับหัวก็เพราะสมอง brain ของเราจะกลับภาพให้เป็นปกติอัตโนมัติ
การนำการสะท้อนแสงมาเล่น นำกระจกเงามาวางและนำวัตถุมาวางจะเห็นเงาเกิดขึ้นแค่ 1 ภาพ นำกระจกมาวางอีก 1 บานมาวางเชื่อมกับกระจกอีกบาน วางมุม 90 องศา นำวัตถุมาวางตรงกลางระหว่างรอยเต่อ จะเห็นภาพเกิดขึ้นมาก ถ้าบีบกระจกให้แคบภาพก็จะเพิ่มมากขึ้น การที่เราเห็นภาพมากขึ้นนั้นก็เพราะมุมในการวางกระจก มุมที่ประกลบกันนั้นมีองศาแคบลงเท่าไหร่ภาพก็จะมากขึ้น กระจกทั้ง 2 บานต่างก็สะท้อนภาพไปมา ถ้าวางกระจกเงาให้ขนานกัน ก็จะเห็นภาพสะท้อนไปสะท้อนมา
กล้องคาไลโดสโคป(Kaleidoscope) นำกระจกเงา 3 บานมาประกลบกันให้เป็นกระบอกทรงสามเหลี่ยม และเมื่อเราส่องก็จะเห็นภาพหลายๆภาพในกระจกสะท้อนออกมามาก มีหลักการสะท้อนแสงและมุมประลบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบในกระบอกทรงสามเหลี่ยมมันก็สะท้อนไปสะท้อนมาในนั้น จึงทำให้เกิดภาพมากมาย
หลักการสะท้อนแสงมาใช้ประโยชน์ในการหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้ เราเรียกกล้องส่องภาพเหนือระดับสายตา หรือกล้องเพอริสโคป periscope โดยเราจะมองเห็นได้เพราะแสงจากวัตถุจะผ่านมาทางช่องบนที่เราเจาะไว้มากระทบบนกระจกเงาแผ่นบน แล้วสะท้อนกระจกเงาแผ่นล่างมาสู่ตาเรา ถ้าทำกล้องให้ยาวมากเท่าไหร่เราก็จะมองเห็นของที่อยู่สูงมากได้ วิธีนี้เรานำมาใช้ส่องวัตถุที่อยู่เหนือน้ำของเรือดำน้ำ submarine
การหักเหของแสง แสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ การหักเหทำให้เห็นภาพที่หลอกตา แต่การหักเหก็มีประโยชน์คือการทำเลนส์ lens แผ่นแก้วหรือแผ่นกระจกที่ถูกทำให้แผ่นหน้าโค้งนูนออกมา เพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายภาพและยังใช้รวมเส้นทางเดินของแสงได้และยังใช้จุดไฟ
การหักเหของแสงนอกจากจะช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจนแล้วยังทำให้มองเห็นวิวแสงและสีสวยๆ เช่นเวลาเราเห็นรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า รุ้งกินน้ำเกิดจากการหักเหของแสงเหมือนกัน แสงที่เราเห็นสีขาวๆนั้นประกอบด้วยสี 7 สี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง แม่สีทั้ง 7 เมื่อรวมกันจะกลายเป็นสีขาว เวลาฝนตกใหม่ๆจะมีละอองน้ำในอากาศและเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหของแสง ปกติสีต่างๆในแสงจะมีความเร็วในการเคลื่อนที่ที่ไม่เท่ากัน เมื่อมันส่งผ่านละอองน้ำจำนวนมากในอากาศจึงเกิดการหักเหผลที่ตามมานั้นแสงขาวๆจะแยกตัวเป็นสีเดิมของมันทั้ง 7 สี ที่เราเรียกว่าแถบสเปกตรัม(Spectrum) หรือรุ้งกินน้ำ rainbow
เราสามารถสร้างรุ้งกินน้ำได้เอง โดยการหันหลังตรงกันข้ามกับพระอาทิตย์และฉีดน้ำเป็นละอองน้ำในอากาศ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงกันข้ามกับพระอาทิตย์ในเวลาฝนตกใหม่ๆและจะเกิดการหักเหของแสงผ่านละอองน้ำในอากาศ ซึ่งก็คลายๆกับการทดลอง แสงสีต่างๆเป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุมีสีต่างๆกันเพราะวัตถุแต่ละชนิดต่างก็มีสีในตัวของมัน วัตถุแต่ละชนิดก็จะมีความสามารถในการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีได้แตกต่างกัน เมื่อมีแสงมาตกกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสงสีบางสีเอาไว้และสะท้อนแสงที่เป็นสีเดียวกันตรงกับวัตถุออกมา ทำให้เรามองเห็นเป็นสีต่างๆ
เงากับแสงคู่กันเสมอ เงาเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแสงและเงาก็เกิดขึ้นได้เพราะแสง เช่นการส่องไฟไปยังวัตถุที่เตรียมไว้ก็จะเกิดเงาดำๆขึ้นบนพื้นฝั่งตรงกันข้ามที่ส่องไฟ และลองส่องไฟสวนทางกับกระบอกแรก ก็จะเกิดเงาจางๆทั้งสองด้าน เงามีหลายแบบ คือเงาของวัตถุเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืนและสะท้อนแสงบ้างส่วนออกมา แต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำ ที่เรียกว่าเงา ถ้าเราฉายและแสงลงไปวัตถุหลายๆทางก็จะทำให้เกิดเงาของวัตถุขึ้นหลายๆด้าน
0 Response to "สัปดาห์ที่ 5"