สัปดาห์ที่ 6



อาจารย์เข้าสู่บทเรียนโดยถามว่า "Constructivism" หมายถึงอะไร
หมายถึง เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือกระทำเอง  เป็นวิธีการเรียนรู้  มีเครื่องมือคือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

     นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่อาจารย์ให้หาเป็นการบ้านดังนี้

1. เฟรดเดริค ฟรอเบล (Friedrich Froebel) “บิดาของการอนุบาลศึกษา” ฟรอเบลเป็นบุคคลแรกที่ได้ออกแบบหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยโดย เฉพาะ หลักสูตรของฟรอเบลเน้นความสำคัญของการเล่น และการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ฟรอเบลมีความเชื่อว่าเด็กเล็กๆ เกิดมาพร้อมกับความรู้และทักษะที่สะสมอยู่ภายใน หน้าที่ที่สำคัญของครู คือ การพยายามดึงความสามารถที่มีอยู่ภายในของเด็กออกมา และช่วยให้เด็กตระหนักถึงความสามารถของตนเอง 

2. โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi) เปสตาลอซซี่ เชื่อว่า การศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้นความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการ พัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ 

3.ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau ) “เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว”   การให้การศึกษาแก่เด็กต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กก่อน

4. จอนห์น ดิวอี้ (John Dewey) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ(Learning by doing)


   อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยแจกกระดาษให้นักศึกษา พับกระดาษแบ่งครึ่ง และวาดภาพที่สัมพันธ์กันลงไป

อุปกรณ์ (Equipment)
     1.กระดาษแข็ง
     2.ไม้เสียบลูกชิ้น
                           3.กรรไกร
                           4.ดินสอสี
                           5.เทปกาว


วิธีทำ (How to)
     1.ตัดกระดาษแล้ว นำกระดาษมาพับครึ่งอีก 1 รอบ
     2.วาดรูปที่สัมพันธ์กันลงไปทั้งสองด้านของกระดาษ เช่น ด้านหนึ่งเป็นดอกไม้ อีกด้านเป็นผีเสื้อ
     3.เมื่อวาดภาพตกแต่งเสร็จ นำไม้เสียบลูกชิ้นวางทาบด้านในกระดาษและติดเทปกาวไว้ จากนั้นนำเทปกาวมาติดด้านข้างของขอบกระดาษ
     เมื่อนำมาเล่น ถือตรงไม้เสียบลูกชิ้นแล้วหมุนด้วยความเร็ว จะเห็นได้ว่าผีเสื้ออยู่บนดอกไม้นั้นเอง หลังจากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความต่อ


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด และเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเกี่ยวกับบทความ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "สัปดาห์ที่ 6"