สัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 เวลาที่เรียน 08.30 - 12.20น.
เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.








ให้นักศึกษามานำเสนอบทความที่ได้ไปศึกษามา มาพูดให้เพื่อนฟัง

เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลองสำหรับเด็ก

เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้

เรื่องการแยกเมล็ดพืช

เรื่องเจ้าลูกโป่ง



 คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้


เด็กอายุ 3 ปี
เด็กอายุ 4 ปี
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย

- วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม - รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว - เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้ - เขียนรูปวงกลมตามแบบได้ - ใช้กรรไกรมือเดียวได้ - วาดและระบายสีอิสระได้
พัฒนาการด้านร่างกาย 

- กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้ - รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง - เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ - เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้ - ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้ - กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย
พัฒนาการด้านร่างกาย

- กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้ - รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง - เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว - เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้ - ตัดกระกาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด - ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ - ยืดตัว คล่องแคล่ว
เด็กอายุ 3 ปี
เด็กอายุ 4 ปี
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านอารมณ์
-
 แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-
 ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
-
 กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านอารมณ์
-
 แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-
 เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-
 ชอบท้าทายผู้ใหญ่
-
 ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านอารมณ์
-
 แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
-
 ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-
 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง
เด็กอายุ 3 ปี
เด็กอายุ 4 ปี
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านสังคม
-
 รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
-
 ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
-
 เล่นสมมติได้
-
 รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านสังคม 
-
 แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
-
 เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน  หลัง
-
 แบ่งของให้คนอื่น
-
 เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสังคม
-
 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
-
 เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
-
 พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
-
 รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
-
 รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย




เด็กอายุ 3 ปี
เด็กอายุ 4 ปี
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-
 สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
-
 บอกชื่อของตนเองได้
-
 ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-
 สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
-
 สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
-
 ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
-
 รู้จักใช้คำถาม อะไร
-
 สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
-
 อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา 
-
 จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
-
 บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-
 พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-
 สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
-
 สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-
 รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-
 บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-
 บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
-
 พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-
 สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
-
 สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
-
 รู้จักใช้คำถาม ทำไม” “อย่างไร
-
 เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม- นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า 10 ได้

ธรรมชาติของเด็กอายุ 3-5 ปี 

ทฤษฎีการทดลองของพาฟลอฟ
      ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) เป็นการเรียนรู้แบบที่มีต่อสิ่งเร้าสองสิ่ง สิ่งเร้า สิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเร้าแท้ และสิ่งเร้าอีกสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเร้าเทียมโดยสิ่งเร้าเทียม จะทำหน้าที่แทนสิ่งเร้าแท้ได้ โดยที่มีผลตอบสนอง เช่นเดียวกับสิ่งเร้าแท้ ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
      อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ได้ทดลองในสุนัข โดยให้อาหารสุนัข เมื่อสุนัขได้อาหารจะเกิดพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์อย่างง่ายขึ้น คือ น้ำลายไหลออกมาขณะที่กินอาหาร ต่อมา พาฟลอฟ ให้อาหารพร้อมกับสั่นกระดิ่งไปด้วยหลายๆ ครั้ง สุนัขจะมีน้ำลายไหลออกมาด้วยเสมอ เพียงแต่ พาฟลอฟสั่นกระดิ่งเท่านั้น สุนัขก็เกิดอาการน้ำลายไหลแล้วทั้งๆ ที่ตามปกติ เสียงกระดิ่ง ไม่สามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้


      พบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะหลั่งน้ำลาย หลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้สิ่งเร้าคืออาหารที่เป็นสิ่งเร้าที่แท้จริง หรือ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimulus) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือสิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditioned stimulus)


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (การทดลองของวัตสัน)
      ความรู้สึกบางอย่างมีมาตั้งแต่เกิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ
อุปกรณ์การทดลอง
เด็กชาย อัลเบิร์ด อายุ 11 เดือน
หนูขาว
เหล็ก
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
กีเซล (Gesell)
พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตา
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำ
จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม






ฟรอยด์ (Freud)
ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอยกับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา
จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก






อีริคสัน (Erikson)
ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อนๆ






เพียเจท์ (Piaget)
พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความมคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0-6 ปี)
1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0-2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2-6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
จัดให้เด็กได้เรียนรู้จาสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม


ดิวอี้ (Dewey)
เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อนๆ


สกินเนอร์ (Skinner)
ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
ไม่นำเด็กเปรียบเทียบแข่งขันกัน


                                    เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)
ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการและระดับความสามารถในการเรียน
เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์


เฟรอเบล (Froeble)
ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี


เอลคายน์ (Elkind)
การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การเรียนรู้อย่างมีความสุข

สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ

  การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ โดยการบรรยายและใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้
ประเมินตนเอง  
-ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายแนวการสอน และคิดคำตอบในสิ่งที่อาจารย์ถามเพื่อให้เราคิด
-แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ หน้าตาสดชื่น
ประเมินเพื่อน  
-เพื่อนสนใจอาจารย์อธิบายแนวการสอนดี  มีการตอบคำถามร่วมกับอาจารย์เป็นบ้างคน
-ยังแต่งกายไม่ถูกระเบียบ แต่ส่วนมากจะถูกระเบียบ
-หน้าตาสนชื่นแจ่มใส
 ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาต่อยอดความคิด
-แต่งกายสวยงามและเหมาะสม  หน้าตาสดชื่นยิ้มแย้ม



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to " สัปดาห์ที่ 3"