บทความ
การบ้าน สรุปบทความ
ชื่อบทความ : เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ คลิก ฉบับเต็ม
จาก สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ
การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
ชื่อบทความ : เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ คลิก ฉบับเต็ม
จาก สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ
การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
สมมุติว่าเด็กกำลังสนใจตัวหนอน
แล้วเด็กเดินมาบอกผู้เลี้ยงดูเด็ก
ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรไปคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิงสกปรก
แต่ผู้ดูเด็กควรจะแนะนำหรือฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่ เช่น
ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะพูดให้เด็กสังเกตว่าตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร
ตัวหนอนโตขึ้นแล้วมันจะค่อย ๆ กลายเป็นผีเสื้อ คือ
เป็นสัตว์ที่เมื่อโตแล้วจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปเลย
หรือให้เด็กสังเกตลูกอ๊อดซึ่งโตขึ้นกลายเป็นกบ เป็นต้น
2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กุกคนไม่ใช่สำหรับเด็กบางคนเท่านั้น
หรือไม่ควรไปบอกกับเด็กว่าหนูไม่เหมาะกับวิทยาศาสตร์ หนูเรียนไม่ได้
เพราะจะไปตอกย้ำให้เด็กรู้สึกเช่นนั้น
หรือต้องไม่บอกเด็กว่าโตขึ้นหนูควรจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นหมอ เพราะเด็กยังมีเวลาอีกมากในการตัดสินใจ
ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ต้องไปตัดสินใจให้เด็ก
แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กมีหน้าที่จะต้องให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเด็กทีเรียนเร็วหรือช้า
ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น สนุก
3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ผู้ปกครองเองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดเรียนรู้วิทาศาสตร์
ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรสรุปว่าผู้ปกครองทุกคนรู้และแนะนำเด็กได้
ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องคอยแนะนำผู้ปกครองด้วย เช่นบอกว่ากิจกรรมที่เด็ก ๆ
ทำอยู่นั้นเป็นการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องอะไร
ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจแนะนำผู้ปกครองโดยวิธีการออกจดหมายและชี้แจงว่า
ผู้ปกครองอาจจะมีาวนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมเรื่องนี้ได้โดยวิธีใดบ้าง
4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ
ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้เด็กรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก
อย่าทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก เช่น ขณะสอนเรื่องส่วนต่าง ๆ
ของพืชผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรบอกว่าต้นไม้ดูดน้ำจากรากไปเก็บไว้ที่ใบ
เพราะนั่นหมายถึงผู้เลี้ยงดูเด็กได้บอกเด็กไปหมดแล้ว
เด็กจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าสนใจอีกแล้ว ดังนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะเป็นฝ่ายถามเด็กมากกว่า
เช่น ถามว่าต้นไม้โตได้อย่างไร จากนั่นค่อย ๆ แนะนำเด็กไปเรื่อย ๆ
โดยฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตและคิด เช่น ต้นไม้ก็เป็นสิ่งที่มีชีวิต
มันต้องการอะไรบ้าง เด็กจะเริ่มคิดแล้วว่าต้นไม้ต้องการอะไรบ้าง
5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
ผู้เลี้ยงดูเด็กควรทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า
เป็นคนมีความสามรถและหัดให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น
ให้สังเกตว่าทำไมไม้ถึงลอยน้ำได้ ทำไมเกลือจึงละลายน้ำ เด็กจะรู้สึกอยากค้นพบ
อยากหาเหตุผล เป็นต้น
0 Response to "บทความ"