สัปดาห์ที่ 7





 กิจกรรมที่ 1 ลูกยาง(Yang)






อุปกรณ์ (Equipment)

1.กระดาษหน้าปก (Paper)
2.คลิปหนีบกระดาษ (Paperclip)
3.กรรไกร (Scissors)
อาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 1 และ 2 ตัดกระดาษตรงกลางยาวชิดขอบรอยพับ ดังภาพด้านล่าง


วิธีทำ (How to) 

- ภาพที่ 1 เมื่อตัดกระดาษได้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามภาพแล้ว นำกระดาษมาพับครึ่ง แล้วใช้กรรไกรตัดตรงกลางชิดรอยพับ เลือกตัดด้านใดด้านหนึ่ง
- ภาพที่ 2 พับส่วนปลายด้านที่ไม่ได้ตัด พับขึ้นไป 1 เซนติเมตร
- ภาพที่ 3 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่ไม่ได้ตัดแล้วกางปีกกระดาษไปคนละด้าน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


ส่วนอาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 3,4 และ 5 ตัดกระดาษตรงกลางไม่ยาวมาก(แล้วแต่จะตัดแบบไหน)


     อาจารย์ให้แถวที่ 1 ถึงแถวที่ 5 ออกมาเล่นทีละแถว วิธีเล่น ให้แต่ละคนโยน ขว้าง หรือปา ก็ได้ ลงมาจากที่สูง
     แถวที่ 1 และ 2 เมื่อขว้างลงมาจากที่สูง พบว่าลูกยาง(กระดาษ) จะหมุนเป็นวงกลมคล้ายลูกยาง และตกลงสู่พื้น (เนื่องจากถ่ายภาพเคลื่อนไหว แล้วเห็นไม่ชัด ดิฉันจึงนำภาพด้านล่างมาเป็นตัวอย่าง)

ตัวอย่าง การหมุนของแถวที่ 1,2


     แถวที่ 3 , 4 และ 5 เมื่อขว้างลงมาจากที่สูง พบว่าลูกยาง(กระดาษ) ไม่หมุนเป็นวงกลมคล้ายลูกยางเท่าไหร่นัก แต่จะตรงดิ่งตกลงสู่พื้นทันที

     ที่ต่างกันเพราะแรงน้วมถ่วง และแรงต้านทาน จึงนำมาประยุกต์เป็น เครื่องบิน, ร่มชูชีพ ฯลฯ การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ส่งเสริมพัฒนาการตามคุณลักษณะตามวัย บนพื้นฐานทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

  กิจกรรมที่ 2  




อุปกรณ์ (Equipment)

1. แกนกระดาษทิชชู
2. ไหมพรม
3. กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม
4. กาว
5. กรรไกร
6. สี


วิธีทำ (How to) 

นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดแบ่งครึ่งกับคู่ แล้วเจาะรูสองรู ตัดกระดาษเป็นวงกลมแล้วตกแต่ง จากนั้นนำไปติดกับแกน ใช้เชือกร้อยที่แกนกับที่เจาะไว้ โดยอาจารย์ก็จะให้เราได้ลองเล่นเอง




เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     ให้เด็กคิดอย่างอิสระ และลงมือกระทำในการประดิษฐ์ชิ้นงาน เด็กรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เกิดการเรียนรู้ การคิด การสังเกต ค้นหา ว่าสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนั้นคืออะไร นำมาซึ่งการลงมือทดลอง และการสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด และเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเกี่ยวกับบทความ มีกิจกรรมการประดิษฐ์น่าสนใจ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "สัปดาห์ที่ 7"